9 เคล็ดลับที่ทำการจัดเลี้ยงพระเป็นเรื่องง่าย

จัดเลี้ยงพระ

การจัดเลี้ยงพระนั้นสามารถทำได้ในหลากหลายโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลอย่างเช่น งานวันเกิด งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญบ้าน งานแต่งงาน งานบวช หรืองานอวมงคลอย่างเช่นงานศพ แต่หลายๆ คนยังมีความกังวลว่าถ้าต้องจัดการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ด้วยตัวเองจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ในบทความนี้จะมาแนะนำถึง 9 เคล็ดลับในการจัดเลี้ยงพระแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะผิดพลาด

1. กำหนดประเภทของงาน

อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำบุญจัดเลี้ยงพระนั้นสามารถทำได้ในหลายโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล หรืองานอวมงคล ซึ่งการจัดเลี้ยงพระในโอกาสต่างๆ ก็จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของอุปกรณ์ที่ต้องใช้ การจัดเตรียมสถานที่ รวมไปถึงเรื่องของจำนวนพระสงฆ์ที่จะนิมนต์มาในงาน

ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจจัดเลี้ยงพระจึงควรกำหนดประเภทของงานก่อนว่าต้องการงานประเภทใด งานมงคลอย่างเช่นงานขึ้นบ้านใหม่ งานวันเกิด งานแต่งงาน หรืองานอวมงคลอย่างเช่นงานศพ เพื่อที่เจ้าภาพจะได้เตรียมตัวจัดงานได้อย่างถูกต้อง

2. กำหนดวัน

เรื่องต่อมาที่ทางเจ้าภาพจะต้องเตรียมตัวในเรื่องของการจัดเลี้ยงพระคือกำหนดวันที่จะทำการจัดเลี้ยง เพราะว่าการกำหนดวันที่แน่นอนนั้นจะทำให้มีระยะเวลาในการเตรียมงานด้านต่างๆ อย่างเช่นการเชิญแขกที่จะมาร่วมงาน การนิมนต์พระ การจัดเตรียมอาหาร รวมไปถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์ และสถานที่นั่นเอง

ซึ่งการกำหนดวันที่จะจัดเลี้ยงพระนั้นถ้าเป็นงานมงคลอย่างเช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานวันเกิดนั้นควรเลือกวันที่เจ้าภาพมีความสะดวกมากที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นวันตามฤกษ์มงคลที่ได้กำหนดไว้ หรือตรงกับวันหยุดเพื่อความสะดวกในการเดินทางมาร่วมงานของแขก แต่ถ้าเป็นงานศพ เจ้าภาพจะนิยมจัดเลี้ยงพระในวันที่มีการเผาศพ หรือในการทำบุญครบรอบ 7 วัน / 50 วัน / 100 วัน หรือ 1 ปี

3. นิมนต์พระ

เมื่อกำหนดประเภทของงาน รวมไปถึงกำหนดวันที่จะจัดงานได้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่เจ้าภาพต้องรีบกระทำคือการนิมนต์พระสงฆ์นั่นเอง เพราะว่าการจัดเลี้ยงพระนั้นเป็นพิธีกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับชาวพุทธ

ซึ่งการนิมนต์พระนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องยาก เพียงแค่ไปติดต่อที่วัดซึ่งอยู่ใกล้บ้าน หรือวัดที่มีความศรัทธา และผูกพัน โดยให้แจ้งกับทางวัดถึงรายละเอียดของงานว่าเป็นงานอะไร ต้องการนิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนกี่รูป ซึ่งงานมงคลนั้นจะนิมนต์พระเป็นเลขคี่ คือ 1 รูป 3 รูป 5รูป หรือ 9 รูปแต่ถ้าเป็นงานอวมงคลจะนิมนต์พระ 4 รูป พร้อมทั้งแจ้งเวลาที่จะจัดเลี้ยงว่าจะจัดงานในเวลาเช้า หรือเพล ให้ชัดเจน

รวมไปถึงรายละเอียดในการเดินทางว่าจะมีรถมารับพระที่วัด หรือต้องให้พระเดินทางไปเอง ถ้าต้องไปรับพระควรกำหนดเวลานัดหมายให้ชัดเจนเพื่อให้สามารถพาพระไปงานได้ตรงเวลา ส่วนถ้าให้พระเดินทางมาเองก็ควรจะเตรียมปัจจัยเพื่อถวายเป็นค่าเดินทางไว้ด้วย การรีบนิมนต์พระนั้นจะทำให้เจ้าภาพรู้ว่าในวันงานนั้นพระจากวัดที่ไปนิมนต์นั้นสะดวกที่จะมาร่วมงานหรือไม่ ถ้าพระติดงานนิมนต์อื่นๆ แล้วจะได้เตรียมตัวไปนิมนต์พระจากวัดอื่นๆ ได้นั่นเอง

4. จัดเตรียมอุปกรณ์

สำหรับการจัดเตรียมอุปกรณ์จำเป็นที่ต้องใช้ในการจัดเลี้ยงพระนั้นหลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นอุปกรณ์เหล่านี้ส่วนมากทางวัดมีให้เจ้าภาพยืมไปใช้งานได้อย่างครบถ้วน

เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์ในการทำอาหารไม่ว่าจะเป็นเตาแก๊ส หม้อ กระทะ จานชาม แก้วน้ำ ช้อนส้อม ในกรณีที่เจ้าภาพต้องการประกอบอาหารถวายพระด้วยตัวเอง ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีการอย่างเช่น โต๊ะหมู่บูชา พรม อาสนะ ที่ปักเทียน กระถางธูป แจกันดอกไม้ กระโถน

ซึ่งการขอยืมอุปกรณ์ต่างๆ จากทางวัดนั้นเจ้าภาพสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ของวัดที่ดูแลในเรื่องเหล่านี้ได้เลย ซึ่งก็จะมีการให้คำแนะนำถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ และวิธีการจัดวางที่ถูกต้อง ทำให้เจ้าภาพสามารถจัดเลี้ยงพระได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

5. จัดเตรียมอาหาร 

พระนั้นต้องเป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์ คือสามารถฉันได้ง่าย ไม่ผิดข้อบังคับของศาสนา และเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยการจัดเตรียมอาหารนั้นทางเจ้าภาพสามารถจะประกอบอาหารเอง หรือซื้อจากร้านอาหารต่างๆ มาก็ได้ แต่ต้องคำนวณปริมาณให้เพียงพอต่อจำนวนพระ และแขกที่จะมาร่วมงาน และที่สำคัญอาหารที่จะนำมาจัดเลี้ยงพระนั้นควรเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ มีความสะอาด อีกทั้งยังควรตักแยกแบ่งส่วนที่จะถวายพระออกมาไม่ให้ปะปนกับของแขกที่มาร่วมงาน

6. เตรียมของถวายพระ 

ตามประเพณีการเลี้ยงพระนั้นจะมีการถวายสิ่งของต่างๆ ให้แก่พระสงฆ์ตามประเภทของงาน ซึ่งการเตรียมสิ่งของเพื่อถวายพระนั้นขึ้นอยู่กับความสะดวก และความพร้อมของเจ้าภาพ โดยสิ่งของที่นิยมนำมาถวายพระนั้นได้แก่ ดอกไม้ ปัจจัย รวมไปถึงสิ่งของที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของพระ หรือที่เรียกกันว่าสังฆทาน และในการทำบุญเลี้ยงพระสำหรับงานศพนั้นจะมีสวดบังสุกุล จึงต้องถวายผ้าไตรให้กับพระสงฆ์ด้วย

7. เตรียมพร้อมสำหรับพิธีการ

การเตรียมพร้อมสำหรับพิธีการในการทำบุญเลี้ยงพระนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่หลายๆ คนไม่มีความชำนาญ ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการจัดงานจึงควรหาผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องพิธีการมาเป็นผู้ดำเนินขั้นตอนต่างๆ ในเรื่องของพิธีสงฆ์ อาจจะเป็นญาติมิตร เพื่อน ซึ่งเคยผ่านการบวชมาก่อน หรือจะเชิญเจ้าหน้าที่ของทางวัดให้มาช่วยในเรื่องเหล่านี้ก็ได้ เพราะว่าถ้าได้ผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องพิธีการก็จะช่วยให้พิธีการต่างๆ ในการจัดเลี้ยงพระนั้นมีความถูกต้อง แต่ถ้าไม่สามารถหาผู้ที่มีความชำนาญในพิธีการได้ พระสงฆ์ที่นิมนต์มาก็จะให้คำแนะนำในเรื่องขั้นตอนต่างๆ ให้กับเจ้าภาพได้

8. ถวายอาหารพระ

เมื่อพระสงฆ์เดินทางมาถึงงาน แล้วได้มีการเจริญพระพุทธมนต์ตามพิธีสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนในการจัดเลี้ยงพระ หรือถวายอาหารให้แก่พระสงฆ์ที่มานั่นเอง โดยการจัดเลี้ยงพระที่นิยมนั้นจะมีการถวายอาหารอยู่ 2 รูปแบบคือการฉันวง และฉันโตก ซึ่งการฉันวงนั้นคือการนิมนต์พระสงฆ์มาจากอาสนะที่นั่งสวดมนต์ ให้มานั่งเป็นวงในบริเวณที่จัดไว้ให้ ซึ่งจะนั่งกับพื้น หรือนั่งบนโต๊ะก็ได้ แล้วจึงนำมาอาหารมาถวายให้ฉันร่วมกัน

ส่วนการฉันโตกนั้นจะเมื่อพระสงฆ์เสร็จจากการเจริญพระพุทธมนต์แล้ว ก็จะนำมาอาหารที่แบ่งไว้เป็นสำรับมาถวายโดยที่พระสงฆ์ไม่จำเป็นต้องลุกออกมาจากอาสนะ โดยการถวายอาหารในลักษณะนี้จะเป็นการถวายให้ฉันเป็นสำรับเฉพาะพระสงฆ์แต่ละรูป ไม่ได้เป็นการฉันร่วมกัน

9. ส่งคืนอุปกรณ์ต่างๆ ให้กับทางวัด

อุปกรณ์เหล่านั้นให้กับทางวัดให้เร็วที่สุด เพื่อที่ทางวัดจะได้มีอุปกรณ์ให้เจ้าภาพคนอื่นๆ ได้ยืมใช้ต่อไป โดยก่อนที่จะส่งคืนนั้นต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยืมมาให้เรียบร้อย รวมไปถึงตรวจนับจำนวนให้ถูกต้อง ตรงกับจำนวนที่ยืมออกมา และถ้ามีการชำรุดเสียหายต้องซ่อมแซม หรือซื้อใหม่ไปเปลี่ยนให้กับทางวัดด้วย

จะเห็นได้ว่าการจัดเลี้ยงพระนั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงแค่เจ้าภาพนั้นมีความศรัทธา และศึกษาในเรื่องขั้นตอนต่างๆ จากบทความนี้ก็จะสามารถจัดเลี้ยงพระเนื่องในโอกาสต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าเจ้าภาพต้องการความสะดวกที่มากยิ่งขึ้นการเลือกใช้บริการจากผู้ที่ทำธุรกิจจัดเลี้ยงในงานทำบุญต่างๆ นั้นก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ

สอบถามรายละเอียดที่นี่