6 เรื่องไม่ควรกระทำในการจัดเลี้ยงพระ

2

การจัดเลี้ยงพระเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เหล่าชาวพุทธนั้นให้ความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นกิจกรรมที่ได้บุญกุศลมาก อีกทั้งยังช่วยให้มีโชคดี แคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งการทำบุญในรูปแบบนี้นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่กิจกรรมที่จะทำได้โดยไม่ใส่ใจ หรือขาดความรอบคอบ ในบทความนี้จะมานำถึง 6 เรื่องที่ไม่ควรกระทำในการจัดเลี้ยงพระ

1. นิมนต์พระกระชั้นชิดเกินไป

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดเลี้ยงพระไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงพระเช้า หรือการเลี้ยงพระเพลนั่นคือพระสงฆ์ ซึ่งเมื่อเจ้าภาพกำหนดวันที่จะจัดงานได้แล้ว การที่พระสงฆ์จะมาในงานได้นั้นทางเจ้าภาพจำเป็นต้องไปนิมนต์พระล่วงหน้าจากวัดที่อยู่ใกล้สถานที่จัดงาน หรือวัดที่มีความเคารพศรัทธา ซึ่งเป็นการเลือกวัดได้ตามความเหมาะสมของเจ้าภาพ แต่สิ่งที่สำคัญ และห้ามทำเด็ดขาดคือการนิมนต์พระในเวลาที่กระชั้นชิดกับการจัดงานจนเกินไป 

การนิมนต์พระสงฆ์ด้วยระยะเวลาที่กระชั้นชิดนั้นอาจจะมีความเสี่ยงสำหรับเจ้าภาพในการที่จะไม่ได้พระสงฆ์จากวัดที่ต้องการมาร่วมในพิธี เนื่องจากพระสงฆ์อาจจะติดรับกิจนิมนต์อื่นๆ ไว้แล้ว ทำให้เจ้าภาพต้องไปติดต่อยังวัดอื่นๆ เพื่อที่จะได้พระสงฆ์มาร่วมงานในวันเวลาที่กำหนดนั่นเอง ในบางครั้งก็อาจจะไม่สามารถนิมนต์พระสงฆ์ได้เลยในวันที่ต้องการจัดงาน ทำให้จำเป็นต้องเลื่อนการจัดเลี้ยงพระออกไปเป็นวันอื่นๆ ที่พระสงฆ์ไม่ติดกิจนิมนต์  

ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมในการนิมนต์พระสงฆ์มาร่วมงานจัดเลี้ยงพระนั่นคือประมาณ 1 เดือนก่อนวันงาน หรือก่อนหน้าที่จะเชิญแขกมาร่วมงานนั่นเอง เพราะถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น หรือจำเป็นต้องเลื่องวันงานก็สามารถทำได้อย่างสะดวก ไม่กะทันหันจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยให้เจ้าภาพมีเวลาในการเตรียมงานที่มากขึ้นอีกด้วย

2. ไม่จัดเตรียมสถานที่

เรื่องของสถานที่ในการจัดเลี้ยงพระนั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับการจัดงานในรูปแบบนี้ เพราะการจัดเลี้ยงพระนั้นส่วนมากจะมีผู้ที่มาร่วมงานเป็นจำนวนมากพอสมควร ซึ่งถ้าต้องการจัดเลี้ยงพระที่บ้านเรื่องของการจัดเตรียมสถานที่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย เนื่องจากเป็นการจัดงานในสถานที่ของตัวเจ้าภาพเอง การจัดเตรียมสถานที่จึงต้องเรียบร้อยมากที่สุด 

โดยการจัดเตรียมสถานที่ในบ้านของเจ้าภาพนั้นจะแตกต่างกับการจัดเลี้ยงพระในสถานที่อื่นๆ เพราะถ้าจัดเลี้ยงในสถานที่จัดเลี้ยง หรือจัดเลี้ยงในวัดนั้น ทางสถานที่จะมีเจ้าหน้าที่มืออาชีพมาคอยอำนวยความสะดวกในเรื่องของสถานที่ให้กับเจ้าภาพ แต่ถ้าจัดเลี้ยงพระที่บ้านเจ้าภาพต้องเป็นผู้จัดการทั้งหมดด้วยตัวเอง เว้นแต่ว่าเจ้าภาพจะหาทีมงาน หรือบริการจัดเลี้ยงมาเป็นผู้จัดการให้ 

การเตรียมสถานที่นั้นได้แก่การทำความสะอาดสถานที่โดยรวมให้เรียบร้อย จัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธีสงฆ์ จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในพิธีสงฆ์ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธรูป โต๊ะหมู่บูชา อาสนะ พรม รวมไปถึงเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ของพระสงฆ์ โดยอุปกรณ์ต่างๆ ในพิธีสงฆ์ต้องจัดวางอย่างเรียบร้อย และถูกต้อง นอกจากนี้ยังต้องจัดเตรียมสถานที่สำหรับการฉันอาหารของพระสงฆ์ เตรียมพื้นที่สำหรับผู้ที่มาร่วมงานเพื่อร่วมพิธีสงฆ์ และพื้นที่สำหรับทานอาหารของผู้ที่มาร่วมงานให้เหมาะสม โดยให้เน้นในเรื่องของความสะอาด และความสะดวก

3. ไม่ใส่ใจในเรื่องของอาหาร

อาหารสำหรับจัดเลี้ยงพระ และอาหารสำหรับผู้ที่จะมาร่วมงานนั้นถือว่าเป็นหน้าตาของเจ้าภาพ ซึ่งการให้ความใส่ใจในเรื่องของอาหารนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากไม่แพ้เรื่องอื่นๆ เลย การจัดเลี้ยงพระหลายครั้งไม่ได้รับคำชื่นชม หรือไม่ได้รับความประทับใจจากผู้ที่มาร่วมงานก็เกิดมาจากการขาดความใส่ใจในเรื่องอาหารของเจ้าภาพนั่นเอง 

การขาดความใส่ใจในเรื่องของอาหารในการจัดเลี้ยงพระนั้นส่วนมากจะเป็นการที่เจ้าภาพนำอาหารที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่สะอาด รสชาติผิเพี้ยนเกินไป หรือขัดกับหลักเกณฑ์ทางศาสนามาใช้ภายในงานนั่นเอง ซึ่งอาหารสำหรับการจัดเลี้ยงพระนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอาหารราคาแพง หรืออาหารที่หาทานได้ยาก แต่ต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีรสชาติเหมาะสม และไม่ขัดกับความเชื่อ หรือหลักเกณฑ์ของศาสนา โดยตัวเจ้าภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องดูแลในเรื่องของการประกอบอาหารอย่างใกล้ชิด แต่ถ้าไม่มีความรู้ทางด้านอาหารก็ควรมอบหมายให้ผู้ที่ไว้ใจได้ดูแลแทน ส่วนการเลือกใช้บริการจัดเลี้ยง หรือการซื้ออาหารจากร้านอาหาร เจ้าภาพจำเป็นที่จะต้องชิมอาหารก่อนที่จะตัดสินใจนำมาใช้ภายในงาน

4. ไม่เตรียมตัวสำหรับพิธีสงฆ์

การจัดเลี้ยงพระนั้นส่วนที่เสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับเจ้าภาพ และผู้ร่วมงานนั่นคือการที่พระสงฆ์ได้ทำการสวดเจริญพระพุทธมนต์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าพิธีสงฆ์ ซึ่งในขั้นตอนนี้ทางเจ้าภาพนอกจะต้องเตรียมสถานที่ รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ ให้เรียบร้อยตามพิธีการแล้ว ทางเจ้าภาพยังจำเป็นที่จะต้องรู้ลำดับขั้นตอนต่างๆ ในพิธีสงฆ์อีกด้วย เพราะเมื่อประกอบพิธีสงฆ์นั้นจำเป็นที่จะต้องมีตัวแทนฝ่ายฆราวาสนั่นคือเจ้าภาพเข้าร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย การกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย การกล่าวคำสมาทานศีล การกล่าวอาราธนาพระปริต เป็นต้น 

การที่ทางเจ้าภาพรู้ลำดับขั้นตอน และสามารถเป็นตัวแทนฝ่ายฆราวาสได้อย่างคล่องแคล่วเหมาะสมนั้นจะช่วยให้ผู้ที่มาร่วมงานมีความประทับใจ แต่ถ้าเจ้าภาพไม่สะดวกที่จะเป็นตัวแทนฝ่ายฆราวาสนั้นก็สามารถที่จะมอบหมายให้ผู้ที่มีความชำนาญเป็นตัวแทนได้ แต่สิ่งที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งคือการที่เจ้าภาพไม่รู้ลำดับขั้นตอน ไม่จัดหาผู้ที่มีความรู้มาช่วยดำเนินพิธี ไปดำเนินพิธีโดยที่ต้องคอยให้พระสงฆ์บอกกำกับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนอาจจะมองว่าไม่เป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วนั่นคือการขาดความใส่ใจของเจ้าภาพนั่นเอง

5. ไม่เตรียมเครื่องไทยธรรมให้เรียบร้อย

ตามประเพณีนิยมในการัดเลี้ยงพระนั้น เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารเรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าภาพจะได้มีการถวายเครื่องไทยธรรมต่างๆ ให้กับพระสงฆ์ เพื่อที่พระสงฆ์จะได้นำสิ่งของเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเครื่องไทยธรรมที่ควรเตรียมไว้ถวายแก่พระสงฆ์นั้นได้แก่ ดอกไม้ธูปเทียน ปัจจัย เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นอย่างเช่น สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาสามัญประจำบ้าน หรือสิ่งของอื่นๆ ที่พระสงฆ์จำเป็นต้องใช้นั่นเอง 

การเตรียมเครื่องไทยธรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่เจ้าภาพควรให้ความสำคัญ และควรจัดเตรียมให้เรียบร้อย โดยสิ่งของต่างๆ ที่จะถวายแก่พระสงฆ์นั้นควรเป็นสิ่งของที่มีคุณภาพ ใช้แล้วมีความปลอดภัย เจ้าภาพควรหลีกเลี่ยงที่จะซื้อถังสังฆทานสำเร็จรูป เพราะว่าจะไม่สามารถตรวจดูได้ว่าสิ่งของเหล่านั้นมีคุณภาพตามที่ต้องการหรือไม่ ควรเลือกซื้อสิ่งของด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้สินของต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด ดังนั้นถ้าทางเจ้าภาพต้องการที่จะถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ที่มาในการจัดเลี้ยงพระก็ควรจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อนวันงาน

6. ละเลยผู้ที่มาร่วมงาน

กรจัดเลี้ยงพระนั้นย่อมที่จะมีญาติมิตร คนรู้จัก คนที่อยู่ในละแวกบ้านมาร่วมงานอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นกิจกรรมการทำบุญที่ชาวพุทธต่างอยากมีส่วนร่วม ดังนั้นเจ้าภาพจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจ และให้ความใส่ใจกับผู้ที่มาร่วมงาน โดยถือเสมือว่าผู้ร่วมงานทุกคนเป็นคนสำคัญในงานอย่างเท่าเทียมกัน เพราะการใส่ใจผู้ที่มาร่วมงานนั้นจะทำให้เกิดความประทับใจ ดังนั้นเจ้าภาพห้ามละเลย หรือไม่ใส่ใจผู้ที่มาร่วมงานเป็นอันขาด ควรดูแลให้เหมาะสมทุกคน 

สำหรับการจัดเลี้ยงพระนั้นเป็นกิจกรรมทางศาสนาที่สามารถจัดการเองได้โดยไม่ยากจนเกินไป ซึ่งเนื้อหาในบทความ “5 เรื่องไม่ควรกระทำในการจัดเลี้ยงพระ” จะช่วยให้รายละเอียด และเติมเต็มในบางสิ่งที่เจ้าภาพอาจจะมองข้าม หรือไม่ให้ความสำคัญสำหรับการจัดงานในรูปแบบนี้ โดยสามารถนำสาระดี และวิธีการต่างๆ จากบทความนี้ไปใช้เมื่อต้องการจัดงาน หรือนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดงานประเภทอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม

สอบถามรายละเอียดที่นี่