การจัดอาหารงานศพนั้นเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทางเจ้าภาพต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญ เนื่องจากอาหารที่เลี้ยงในงานศพนั้นเปรียบเสมือนการให้เกียรติผู้ตาย และยังเป็นเสมือนการที่ผู้ตายได้ดูแลผู้ที่มาร่วมงานเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งวิธีการจัดอาหารงานศพก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นถิ่น รวมถึงมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละศาสนา ซึ่งในบทความนี้จะมาแนะนำถึงวิธีการจัดอาหารงานศพที่ถูกต้องเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาร่วมงาน
1. ต้องมีอาหารสำหรับผู้ที่มาร่วมงาน
สิ่วัฒนธรรมการจัดอาหารงานศพสำหรับชาวพุทธในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยอาหารงานศพที่จัดเลี้ยงในพิธีสวดพระอภิธรรมนั้นจะเป็นการจัดอาหารเบาๆ ซึ่งจะเป็นอาหารคาว หรืออาหารหวานก็ได้ เนื่องจากเป็นการสวดในช่วงเย็น หรือหัวค่ำ ซึ่งผู้ที่มาร่วมงานส่วนมากจะยังไม่ได้ทานอาหารเย็น เจ้าภาพจึงจำเป็นที่จะต้องจัดอาหารสำหรับรับรองผู้ที่มาร่วมงานให้มีอาหารรองท้องไม่เกิดความหิวเพราะว่ายังไม่ได้ทานข้าวมื้อเย็นนั่นเอง
2. อาหารงานศพควรเตรียมอย่างไร
สำหรับสถานที่ในการจัดงานแต่งพิธีเช้านั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าภาพ รวมไปถึงความเหมาะสมในเรื่องการจัดงาน และจำนวนแขกที่จะมาร่วมงานเป็นหลัก อาจจะเป็นการจัดงานที่บ้าน ที่โรงแรม หรือสถานที่ให้บริการจัดงานการเตรียมอาหารสำหรับงานศพนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบตามความสะดวกของเจ้าภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมอาหารด้วยตัวเอง หรือสั่งอาหารประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว หรืออาหารประเภทขนมจากทางร้านที่ไว้ใจได้ในเรื่องของคุณภาพอาหาร ซึ่งงานศพในเมืองใหญ่นั้นจะเจ้าภาพจะไม่ค่อยนิยมเตรียมอาหารด้วยตัวเอง ต่างจากงานศพในต่างจังหวัดที่เจ้าภาพจะประกอบอาหารเองเพื่อดูแลผู้ที่มาร่วมงานอย่างเต็มที่ โดยการเลี้ยงอาหารงานศพนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงแบบอาหารจานเดียว / Snack Box / บุฟเฟต์ หรือโต๊ะจีน ซึ่งการเลี้ยงอาหารรูปแบบต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าภาพเป็นสำคัญ
3. เลือกอาหารที่ทานได้ง่าย
เมื่อกำหนดวัน / เวลา สถานที่ได้แล้ว สิ่งต่อไปที่คู่บ่าว / สาวต้องทำคือการบอกกล่าวญาติมิตรเพื่อให้มาร่วมงานในสำหรับการจัดอาหารงานศพสำหรับผู้มาร่วมงานในพิธีสวดพระอภิธรรมนั้น โดยเฉพาะการจัดงานศพในเมืองใหญ่อย่างเช่นกรุงเทพมหานคร ถ้าเจ้าภาพเลือกที่จะจัดเป็นอาหารคาวควรเป็นอาหารจานเดียวที่ทานได้ง่าย ไม่หนักท้องจนเกิน สามารถนั่งกินที่เก้าอี้ได้เลย เนื่องจากงานสวดพระอภิธรรมนั้นส่วนมากจะไม่มีการจัดโต๊ะสำหรับทานอาหารไว้ให้ ซึ่งประเภทของอาหารคาวที่ทานได้สะดวก และได้รับความนิยมนั้นได้แก่ ข้าวต้ม กระเพาะปลา เกี๊ยวน้ำ กวยจั๊บ เนื่องจากอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่ผู้มาร่วมงานสามารถทานได้ง่าย ทานได้เร็ว
4. เครื่องดื่มก็สำคัญ
อีกหนึ่งเรื่องของการจัดอาหารงานศพที่เจ้าภาพไม่ควรมองข้ามก็คือเรื่องของเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ที่จะต้องนำมารับรองผู้มาร่วมงาน ซึ่งตามความนิยมนั้นเจ้าภาพจะจัดน้ำดื่มธรรมดาแบบแก้วพลาสติกที่ดื่มแล้วทิ้งไว้ให้ เนื่องจากน้ำดื่มในลักษณะนี้มีความสะดวกในการดื่ม และการจัดเก็บ เนื่องจากเมื่อดื่มเสร็จก็ทิ้งได้เลย ไม่จำเป็นต้องล้าง แต่ในบางงานเจ้าภาพอาจจะจัดเครื่องดื่มร้อนอย่างเช่น ชา กาแฟ ไว้เพื่อรับรองผู้ที่มาร่วมงาน โดยจะตั้งกระติกน้ำร้อนพร้อม ชา กาแฟ ไว้ให้ ผู้ร่วมงานก็ถ้าต้องการดื่มก็จะเดินมาชงเครื่องดื่มเหล่านี้ด้วยตัวเอง
ส่วนการเสิร์ฟเครื่องดื่มให้กับแขกผู้ใหญ่ หรือเจ้าภาพในการสวดพระอภิธรรมศพนั้น เจ้าภาพควรเตรียมแก้วใส่น้ำดื่มเพื่อรับรอง ไม่ควรใช้แก้วน้ำดื่มพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง
5. ใช้ Snack Box เพื่อความสะดวก
ในปัจจุบัน Snack Box นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับการใช้เป็นอาหารงานศพในวันสวดพระอภิธรรม เนื่องจากการใช้ Snack Box ช่วยให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกของทางเจ้าภาพที่ไม่ต้องวุ่นวายเตรียมอาหารเป็นจำนวนมาก เพียงแค่ประมาณจำนวนผู้ร่วมงานที่จะมาในวันนั้นแล้วก็สั่ง Snack Box จากร้านต่างๆ ที่ให้บริการได้เลย สำหรับผู้มาร่วมงานก็ได้รับความสะดวก เพราะว่าอาหารใน Snack Box นั้นทานได้ง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ถ้ายังไม่ต้องการทานในระหว่างงานก็สามารถนำกลับไปทานที่บ้านได้ โดยภายใน Snack Box ตามมาตรฐานนั้นจะเป็นขนม 1 – 2 ชิ้น และน้ำผลไม้ ซึ่งขนมก็อยู่ที่ความเหมาะสมในการตัดสินใจเลือกของเจ้าภาพนั่นเอง และการใช้ Snack Box ยังช่วยให้เจ้าภาพสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่าย เนื่องจาก Snack Box มีให้เลือกหลายราคา เจ้าภาพสามารถเลือกได้ตามกำลังทรัพย์
6. อาหารควรมีความหลากหลาย
การจัดพิธีสวดพระอภิธรรมในงานศพนั้นตามประเพณีนิยมสำหรับคนธรรมดานั้นจะนิยมจัดเป็นจำนวน 3 วัน / 5 วัน หรือ 7 วัน ซึ่งอาหารงานศพในแต่ละวันควรจะมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงานนั้นได้ทานอาหารหลากหลายประเภท โดยควรจัดสลับกันระหว่างอาหารชนิดต่างๆ หรือจะจัดสลับระหว่างอาหารคาว กับ Snack Box ก็ได้ โดยการสลับประเภทอาหาร และการสลับชนิดอาหารนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าภาพ
7. จัดเลี้ยงได้หลากหลายวิธี
สำหรับการจัดเลี้ยงอาหารงานศพนั้นสามารถเลือกไว้มีการจัดเลี้ยงได้หลากหลายวิธีตามแต่ความสะดวกของเจ้าภาพ วิธีการจัดเลี้ยงที่นิยมมากที่นั้นคือการจัดเลี้ยงแบบเป็นอาหารจานเดียว หรือการจัดเลี้ยงด้วย Snack Box ซึ่งเป็นวิธีจัดเลี้ยงที่สะดวก แต่การจัดเลี้ยงในงานสวดพระอภิธรรมศพนั้นยังมีการจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟต์ที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร โดยการจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟต์นั้นจะเป็นการจัดอาหารไว้รองรับผู้ที่มาร่วมงานตลอดเวลา มีโต๊ะสำหรับวางอาหาร และโต๊ะสำหรับทานอาหารแยกออกมาจากบริเวณที่ใช้ทำพิธีสวดพระอภิธรรมศพ โดยผู้ที่มาร่วมงานสามารถตักอาหารทานได้ตลอดเวลาเนื่องจากมีจากแยกบริเวณของการทานอาหาร กับพิธีศพออกจากกันแล้วนั่นเอง ซึ่งการเลี้ยงอาหารงานศพแบบนี้จะได้รับความนิยมในต่างจังหวัดที่ผู้มาร่วมงานไม่มีจำเป็นต้องมีความเร่งรีบในการดำเนินชีวิตประจำวัน
8. ควรงดเว้นอาหารบางประเภท
หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่ามียังมีความเชื่อในเรื่องของอาหารบางชนิดที่ไม่นิยมใช้เป็นอาหารงานศพ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือขนมที่มีเส้นเป็นส่วนประกอบอย่างเช่นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้เกิดความผูกพันกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำให้ผู้ตายไม่ไปสู่สุคติ นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ใช้ใบตองเป็นส่วนประกอบ รวมไปถึงไม่ควรใช้ใบตองในการอาหาร หรือตกแต่งภาชนะ เพราะในสมัยก่อนนิยมใช้ใบตองในการรองศพ การนำอาหารที่มีใบตองเป็นส่วนประกอบจึงดูไม่ค่อยเหมาะสม อาหารอีกหนึ่งอย่างที่ไม่นำมาเป็นอาหารงานศพคืออาหาร หรือขนมที่มีขนุนเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากขนุนนั้นเป็นผลไม้ที่มีชื่ออันเป็นมงคล จึงไม่นิยมนำมาใช้ในงานศพที่เป็นงานอวมงคล
9. การจัดเลี้ยงในวันสุดท้าย
วันสุดท้ายของการจัดงานศพคือพิธีประชุมเพลิง หรือการเผาศพนั่นเอง ซึ่งในวันที่มีการเผาศพนั้นตามปกติทางเจ้าภาพจะมีการนิมนต์พระจำนวน 4 รูปมาสวดอีกหนึ่งรอบคือในช่วงเพล ซึ่งจะรวมไปถึงการถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์ รวมไปถึงเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาร่วมงานด้วย ซึ่งการเลี้ยงอาหารงานศพในวันเผานั้นจะนิยมจัดเป็นอาหารชุด บุฟเฟต์ หรือโต๊ะจีนก็ได้ เมื่อถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์เรียบร้อยแล้วจึงจะจัดเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงาน โดยอาหารที่นำมารับรองผู้ร่วมงานโดยส่วนมากก็จะเหมือนกับอาหารที่นำไปถวายพระ เพื่อลดความยุ่งยากในหารเตรียมอาหารของเจ้าภาพนั่นเอง ส่วนช่วงเวลาที่เผาศพนั้นไม่นิยมเลี้ยงอาหารผู้ที่มาร่วมงาน จะเตรียมไว้เพียงน้ำดื่มเท่านั้น แต่อาจจะมี Snack Box เตรียมไว้เผื่อก็ได้
จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าอาหารงานศพนั้นเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญกับงานศพเป็นอย่างมาก โดยการจัดอาหารนั้นไม่มีรูปแบบตายตัว แต่จะถูกจำกัดด้วยงบประมาณของเจ้าภาพ เพราะการจัดอาหารแต่ละรูปแบบนั้นมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน และเจ้าภาพในงานต้องจำเป็นจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมเพื่อที่จะได้ดูแลผู้มาร่วมงานได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ในบทความนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านในเรื่องวิธีจัดอาหารงานศพได้อย่างแน่นอน